เมนู

ชื่อว่าย่อมคัดค้าน. ก็พวกยึดถือทิฏฐิผู้ถูกเรียกว่าเป็นผู้มีธรรมฝ่ายดำ
อย่างแท้จริง แม้เหล่านั้นสำคัญทางภาษาเหล่านี้ว่าไม่ควรติเตียน
ไม่ควรคัดค้าน แต่กล่าวสิ่งที่เป็นอดีตว่าคงเป็นอดีต สิ่งที่เป็นอนาคตว่า
คงเป็นอนาคต สิ่งที่เป็นปัจจุบันว่าคงเป็นปัจจุบันอยู่นั่นเอง. บทว่า
นินฺทาพฺยาโรสอุปารมฺภภยา ความว่า เพราะกลัวแต่การนินทา เพราะ
กลัวแต่การเสียดสี เพราะกลัวแต่การใส่โทษ และเพราะกลัวแต่การ
ติเตียน จากสำนักของวิญญูชนทั้งหลาย. ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสบัญญัติขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ 4 ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อรรถกถานิรุตติปถสูตรที่ 10
จบ อุปายวรรคที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อุปายสูตร 2. พีชสูตร 3. อุทานสูตร 4. ปริวัฏฏสูตร
5. สัตตัฏฐานสูตร 6. พุทธสูตร 7. ปัญจวัคคิยสูตร 8. มหาลิสูตร
9. อาทิตตสูตร 10. นิรุตติปถสูตร.

อรหันตวรรคที่ 2



1. อุปาทิยสูตร



ว่าด้วยการถูกมารผูกมัดเพราะถือมั่น



[138] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดประทานพระวโรกาสแสดงพระธรรมเทศนา
โดยสังเขปแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว เป็นผู้ผู้เดียว
หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อบุคคลยัง
ถูกตัณหามานะทิฏฐิยึดไว้ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่ถูกยึด จึงหลุดพ้น
จากมาร.
ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่
พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว.
พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่กล่าวแล้วอย่างย่อ
โดยพิสดารได้อย่างไรเล่า.
ภิ. ข้าแต่พระองค์เจริญ เมื่อบุคคลยังยึดรูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณมั่นอยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นจึง
หลุดพ้นจากมาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถ